ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซร์ของ นายโชคอำนวย จำปาศรี

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่5 (ตอบคำถามท้ายบท)

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ
หนึ่งที่มีความสำคัญ
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )
•Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ
คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
•Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
 จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้
เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้  
9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
    รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. การฟอกเงิน
6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ  ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
2. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ(Operating System)
4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด
ตัวอย่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1. Morris Case
การเผยแพร่หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)
โดยนายโรเบิร์ต ที มอริส  นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัย
คอร์แนล
หนอน (worm) สามารถระบาดติดเชื้อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีก
เครื่องหนึ่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ โดยมีการแพร่ระบาด
อย่างรวดเร็ว
; ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา โดยให้บริการสังคมเป็นเวลา
  400 ชั่วโมง และปรับเป็นเงิน 10,050 ดอลลาร์สหรัฐ
. Digital Equipment case
เดือนธันวาคม ค.ศ.1980 เครือข่ายของบริษัท Digital Equipment
Corporation ประสบปัญหาการทำงาน โดยเริ่มจากบริษัท U.S Leasing
- คนร้ายโทร. ปลอมเป็นพนักงานคอมของ บริษัท Digital Equipment
- ขอเข้าไปในระบบ(Access)โดยขอหมายเลขบัญชีผู้ใช้ (Account Number)
   และรหัสผ่าน (password)
- ต่อมามีการตรวจสอบ
- มีการก่อวินาศกรรมทางคอมพิวเตอร์
* คอมพิวเตอร์พิมพ์ข้อความหยาบคาย เครื่องพิมพ์พิมพ์กระดาษเต็มห้อง
*ลบข้อมูลในไฟล์บริษัททิ้งหมด เช่น ข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง
  ใบเรียกเก็บเงิน
3. 141 Hackers” และ  “War Game”
ภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1983
·        “141 Hackers” การเจาะระบบสาธารณูปโภคของสหรัฐอเมริกา
·        “War Game” การเจาะระบบจนกระทั่งเกือบเกิดสงครามปรมาณู ระหว่าง
·        สหรัฐอเมริกา และโซเวียต
·        ทั้งสองเรื่อง ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของสภาคองเกรส (Congress)
4. ไวรัส Logic bomb/Worm ใน Yahoo
·        ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการของ Yahoo ในปี 1997
·        ทำลายระบบคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง
5. การเจาะระบบข้อมูลของ Kevin Mitnick
·        โดยเจาะระบบของนักฟิสิกส์ Shimomura  ของ San Diego 
·        Supercomputer center
·        เจาะระบบการบริการออนไลน์ The Well
·        เจาะระบบโทรศัพท์มือถือ
·        ไม่แสวงหาผลประโยชน์
·        Mitnick เจาะระบบข้อมูลเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่สามารถเลิกได้
6. การปล้นเงินธนาคารพาณิชย์ 5.5 ล้านบาท
คนร้ายเป็นอดีตพนักงานธนาคาร โดยมีคนในร่วมทำผิด เป็นทีม
วิธีการ
·        *โดยการปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน เพื่อขอใช้บริการ ฝาก-ถอน
·        โอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ซึ่งเป็นบัญชี
·        ของลูกค้าที่มีการฝากเงินไว้เป็นล้าน
·        เมื่อได้รหัสผ่าน(Password)แล้ว ทำการโอนเงินจากบัญชีของเหยื่อ
·        ทางอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์ (เทโฟนแบงค์กิ้ง) ไปเข้าอีกบัญชีหนึ่ง
·        ซึ่งได้เปิดไว้โดยใช้หลักฐานปลอม
   * ใช้บริการคอมฯ จากร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่หลายแห่ง
   * ใช้ A.T.M. กดเงินได้สะดวก
(ปัจจุบัน ร.ร.คอมฯเปิดสอนเกี่ยวกับการแฮคเกอร์ข้อมูล, การใช้อินเตอร์เน็ตคาเฟโดยเสรี
ไม่กำหนดอายุ เงื่อนไข การแสดงบัตรประชาชน)
7. การทุจริตในโรงพยาบาล และบางบริษัท
โดยการทำใบส่งของปลอมจากคอมพิวเตอร์ เช่น
เจ้าหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ ยักยอกเงินโรงพยาบาล 40,000 เหรียญ
โดยการทำใบส่งของปลอมที่กำหนดจากเครื่องคอมพิวเตอร์โรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่ ควบคุมสินเชื่อ  จัดทำใบส่งของปลอม จากบริษัทที่ตั้งขึ้นปลอม
โดยให้เช็คสั่งจ่ายบริษัทปลอมของตัวเองที่ตั้งขึ้น  สูงถึง 155,000 เหรียญ
8. การทุจริตในบริษัทค้าน้ำมัน
  พนักงานควบคุมบัญชี สั่งให้คอมพิวเตอร์นำเช็คจ่ายภรรยา แทนการจ่าย
ให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยการแก้ไขรหัสผู้รับเงิน
9. การทุจริตในธนาคารของเนเธอร์แลนด์
 ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ และผู้ช่วยถูกจับในข้อหายักยอกเงินธนาคารถึง
65 ล้านเหรียญ ภายใน 2 ปี โดยการแก้ไขรหัสโอนเงินที่สามารถโอนเงินผ่านคอมพิวเตอร์
10. การทุจริตในบริษัทประกัน
 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินไหมทดแทนของบริษัท  ทำการทุจริตเงินของ
  บริษัทจำนวน 206,000 เหรียญ ในรอบ 2 ปี
 ใช้ความรู้เรื่องสินไหมทดแทน โดยใช้ชื่อผู้เสียหายปลอมแต่ใช้ที่อยู่ของ
  ตัวเองและแฟน
11. ระบบคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยมิชิแกน
 ระบบข้อมูลซึ่งประมวลโดยคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้สามารถจัดการข้อมูลได้
  มากกว่า 1 คน ทำให้ระบบข้อมูลนักศึกษา 43,000 คนได้รับความเสียหาย
 คะแนนเฉลี่ยถูกเปลี่ยน ข้อมูลบางอย่างถูกลบ
12. การทุจริตในบริษัทแฟรนไชส์
 เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ทำการทุจริต
 ลบข้อมูลสินค้าคงคลัง และค่าแรงของแฟรนไชส์ 400 แห่ง
13. การทุจริตในกรมสวัสดิการสังคมของแคลิฟอร์เนีย
 หัวหน้าและเสมียน ยักยอกเงินไปกว่า 300,000 เหรียญ ภายในหนึ่งปี
 โดยการร่วมกันจัดทำใบเบิกปลอม และไม่ผ่านกระบวนการอนุมัติที่ถุกต้อง
14. การทุจริตสนามม้าแข่งในออสเตรเลีย
 เสมียนที่ควบคุมในระบบม้าแข่งแห่งหนึ่งของรัฐบาลได้ทุจริต
 การแก้ไขเวลาในเครื่องให้ช้าลง 3 นาที
 ทราบผลการแข่งขันจะโทรแจ้งแฟน
 ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่มีใครพิสูจน์ทราบ ไม่รู้ว่าทำมานานเท่าใด
 จับได้เพราะแฟนสาวโกรธที่ได้เงินมาแล้วแบ่งให้หญิงอื่น
15. การทุจริตโกงเงินในบริษัท เช่น
 โปรแกรมเมอร์นำเอาโปรแกรมบัญชีฝากเผื่อเรียก มายักยอกเบิกเกินบัญชี
  ในบัญชีตนเอง เป็นเวลา 6 เดือน รวม 1,357 เหรียญ
พนักงานที่ถูกนายจ้างไล่ออก ได้ทำลายข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบon-line
 เจ้าหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานแผนกคอมพิวเตอร์ ขโมยที่อยู่ของลูกค้า
  จำนวน 3 ล้านราย เพื่อเรียกค่าไถ่จากบริษัท
 รองประธานระบบคอมพิวเตอร์ หัวหน้าปฏิบัติการของธนาคารร่วมกับ
  บุคคลภายนอกอีก 3 คน โอนเงินจากบัญชีของลูกค้าที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
  ไปเข้าบัญชีที่จัดทำขึ้นมา
 ผู้ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กดปุ่ม “Repeat” เพื่อจัดทำเช็คให้ตนเองถึง
  200 ใบ  แต่ถูกจับขณะนำเช็คใบที่ 37 ไปแลกเงินสดจากธนาคาร
 การบันทึกรายการปลอม
 พนักงานคอมพิวเตอร์ต่อรองให้ทางบริษัทขึ้นเงินเดือนให้ทั้งแผนก ไม่เช่น
นั้น ใบส่งของจำนวน 28,000 ใบ ที่กำลังจะส่ง จะถูกลดราคาลงไป 5%
ผู้วิเคราะห์ของระบบห้างสรรพสินค้าใหญ่ สั่งซื้อสินค้าจากห้างราคาแพงแต่ให้
คอมฯพิม์ราคาต่ำ
                        ธุรกิจบน Internet
ค้าขายด้วย E-Commerce  (Electronics commerce)
ธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
1 ธุรกิจขายตรง
2 ร้านขายหนังสือ
3 ธุรกิจร้านค้าอาหาร
E-commerce กับธุรกิจผิดกฎหมาย
ปัจจุบันได้มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางผิดกฎหมายมากขึ้น
เช่น การขายหนังสือลามก, วีดีโอลามก, สื่อลามกประเภทต่างๆ
เป็นแหล่งโอนเงินที่ผิดกฎหมาย
รวมทั้งใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงเพื่อกระทำความผิด
เป็นต้น

2.อธิบายความหมายของ คำต่อไปนี้
2.1 แฮกเกอร์ (Hacker)
Hacker คือ กลุ่มของโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
-          เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เชี่ยวชาญในภาษาคอมพิวเตอร์
-          เป็นคนสร้างโปรแกรม
-          เป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาโปรแกรม หรือระบบที่เฉพาะอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการ UNIX
-          เป็นผู้ที่เข้าใจ และทราบถึงจุดอ่อนของระบบต่าง ๆ
สิ่งที่ Hacker ทำ
-       ทำระบบ Network สร้างระบบปฏิบัติการ ( OS ) UNIX ซึ่งเป็น OS ที่นิยมใช้อยู่ขณะนี้
UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นระบบ Interactive time sharing ซึ่งเป็นระบบ OS ระบบแรกที่เขียนด้วยภาษา C ซึ่งเป็นภาษามาตรฐาน ทำให้ UNIX เป็นระบบที่เป็น
มาตรฐาน เป็น OS ที่เกี่ยวข้องกับ Free ware product จำนวนมาก Hacker จะทำการขยายและใส่ Idea ใหม่ ๆเข้าไปในระบบทำให้ ระบบ UNIX มี Version ที่หลากหลาย ในแต่ละบริษัทที่ใช้ หรือในผู้ใช้แต่ละคน นอกจากนี้ Version ต่าง ๆของระบบนี้จะถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
-       ดำเนินการ USENET
โดย Hacker จะรวบรวมกลุ่มของข่าวสารซึ่งมีหลากหลายหัวข้อ และทำให้เป็น Newgroup ต่อมาจะทำ Newgroup ให้เป็น HOST อยู่บน Server ที่เชื่อมต่อกับระบบ Internet และ Web browser จะใช้ USENET ที่เขามีมาช่วยในการเข้าถึง Newgroup อื่น ๆที่ Enduser เป็นผู้เลือก
-       ทำให้ระบบ www มีประสิทธิภาพใช้งานได้จริง
-       เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน technic computer
-       มีหน้าที่ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบ Netware หรือโปรแกรมต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-       พัฒนา โปรแกรม application ต่าง ๆ
2.2 แครกเกอร์ (Cracker)
แฮกเกอร์ (Hacker) แครกเกอร์ (Cracker) และบุคคลภายนอก  ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยอาจจะมีรูปแบบในการก่ออาชญากรรม เช่น การปลอมแปลงข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีสิทธิ หรือการทำลายระบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก  ถ้าเราไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือ หรือไม่รู้เท่าทันภัยที่จะเกิดขึ้น เราอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สิน ข้อมูลอันสำคัญ และผลกระทบที่จะตามมาอีกมหาศาล ดังนั้นเราต้องรู้เท่าทันภัยที่จะแฝงมากับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
2.3 สแปม (Spam)
สแปมคืออะไร
         สแปม คือ รูปแบบหนึ่งของจดหมายขยะ ( Junk mail ) จะเห็นได้จาก จดหมายแผ่นพับ โฆษณาที่ส่งไปตามบ้าน คนที่ส่งสแปมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายขอให้รู้อีเมล์แอดเดรส ก็สามารถส่งสแปมไปยังกลุ่มเป้าหมายได้
 สาเหตุที่ทำให้เกิดการสแปม
มีโปรแกรมตัวหนึ่งที่จะท่องไปตามเวปต่างๆ และเก็บข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายที่เป็นอีเมล์แอดเดรตเอาไว้ หรือการสมัครของเราตามสถานที่ต่าง ก็จะมีการนำไปสู่การถูกสแปมตามมาภายหลัง
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้ถูกสแปมเมล์นั้นคือ การสมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารออนไลน์ (ผ่านอีเมล์) กับผู้ให้บริการบางเว็บไซต์ การได้มาซึ่งอีเมล์แอดเดรสที่ให้บริการฟรีโดยผู้ให้บริการออนไลน์ นอกจากนี้การร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดสาธารณะ ก็เสี่ยงต่อการถูกสแปม และสำหรับเว็บมาสเตอร์ที่สร้างเว็บไซต์ การแปะอีเมล์บนเว็บไซต์ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน การสแปมยังคงได้รับความนิยมจากบรรดาผู้ทำธุรกิจ ทั้งออนไลน์และธุรกิจทั่วไปมากขึ้นทุกวัน เพราะค่าใช้จ่ายราคาถูกกว่า นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับการทำธุรกิจแบบประหยัดเวลาด้วย คือ ไม่ต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรอง ไม่ต้องเสียเวลาในการอารัมภบทเพื่อเสนอสินค้า อีเมล์แอดเดรสเป็นการติดต่อทางเดียว (one way communication) ผู้ส่งไม่ต้องกลัวว่าจะถูกคนรับระบายอารมณ์ใส่ ไม่ต้องกลัวเสียความรู้สึกว่าจะถูกปฏิเสธ
2.4 โทรจัน (Trojan)
โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย  โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
          บางคนที่เวลาเล่นอินเทอร์เน็ทจะได้เจอกับอาการที่เครื่องมีอาการแปลก อย่างเช่น อยู่ดีๆ ไดรฟ์ CD-Rom ก็เปิดปิดชักเข้าชักออก ไม่ก็อยู่ดีๆเครื่องก็มีเสียงเพลงอะไรไม่รู้ นึกว่าผีหลอกสะอีก แต่ที่จริงไม่ใช่ หากแต่ตอนนี้เครื่องได้มีผู้บุกรุกเข้ามาในเครื่องและได้เข้ามาควบคุมเครื่องคุณแล้ว ความสามารถของเจ้าม้าไม้โทรจันนี้ไม่ได้มีแค่นี้ แต่สามารถทำให้เครื่องพังได้ทีเดียว ความสามารถของโทรจันมีเยอะมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ ผู้บุกรุกสามารถทำอะไรกับเครื่องขอคุณก็ได้ เหมือนกับเขาได้มานั่งอยู่หน้าเครื่องคุณอย่างนั้นเลย
2.5  สปายแวร์ (Spyware)
Spyware คือ อะไร
Spyware เป็นโปรแกรมที่แฝงมาขณะเล่นอินเตอร์เน็ตโดยจะทำการติดตั้งลงไปในเครื่องของเรา และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของท่านอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป

3.จงยกตัวอย่างกฏหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างจงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการ จึงมี กฏหมาย  พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่กำหนดบทลงโทษ
            ๑)มาตรา ๕  ระบุว่า  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            ๒)มาตรา ๗  ระบุว่า  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ   เช่น  แฮกเกอร์หรือพวกมือดีชอบแอบก๊อปปี้ขโมยข้อมูลของบริษัทออกไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจะโดนคดีอาญายอมความไม่ได้  ติดคุกสูงสุดตั้งแต่    เดือน ถึง ๒ ปี ปรับสูงสุดอีกตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐   ๔๐,๐๐๐ บาท
            ๓)มาตรา ๙  ระบุว่า  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน  ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ          
           ๔)มาตรา ๑๐  ระบุว่า  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น  การกระทำประเภทมือดีแอบลบไฟล์คนอื่น สร้างไวรัสที่ทำลายข้อมูล หรือมีการแก้ไขข้อมูลบางส่วน รวมไปถึงการกระทำที่มีผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เป็นไปตามปกติด คือ ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน พวกนี้โดนเล่นงานหมด
            ๕)มาตรา ๑๔ ระบุว่า  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  เช่น
            ๑.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
            ๒.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้  และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่4 (ตอบคำถามท้ายบท) แก้ไขใหม่แล้วครับ


1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
สื่อและอุปการณ์การรับส่งข้อมูล
สื่อกลาง ( Media )
                หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ
ประเภทของสื่อนำสัญญาณ                สื่อที่ใช้ส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายในปัจจุบัน สามารถแบ่งสื่อกลางได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1. สื่อกลางประเภทเหนี่ยวนำ (Guided media) หรือ ระบบใช้สาย (Wired System )
                เป็นระบบที่รวมสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ใช้ได้ทั้งระยะใกล้หรือไกล สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สายเกลียวคู่ สายโคแอกเซียล และ สายใยแก้วนำแสง
                1.1  สายคู่พันเกลียว หรือสายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
                เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดบาง (1 มิลลิเมตร) ที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว ทำให้สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ เป็นสายที่ใช้เดินในผนังเพื่อเชื่อมต่อโทรศัพท์เข้าไปยังชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ ที่ให้บริการระบบโทรศัพท์ เช่น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ตามปกติสายเคเบิลประเภทนี้ มักจะถูกนำมาใช้ในระบบเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต (Ethernet LAN)
                สายคู่พันเกลียว มี 2 ประเภท คือ
                1.  สายคู่พันเกลียวแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม (Unshielded Twisted Pair – UTP)
                สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่
คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้น ซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างไปและตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ซึ่งการตีเกลียวลักษณะนี้จะช่วยให้มันมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น จากเครื่องถ่ายเอกสารที่อยู่ใกล้ๆ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย 

ข้อดีของ UTP
                -  ราคาถูก
                -  ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
                -  มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของ UTP
                - ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (สายควรยาวน้อยกว่า 100 ฟุต)
                2. สายคู่พันเกลียวแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted pair – STP)
                สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆ ภาษาเทคนิคเรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) ทำให้มีอิมพีแดนซ์ 150 โอห์ม และเป็นสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น
                คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก และอิมพีแดนซ์ (150 โอห์ม) แต่สาย STP จะใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าระยะทางที่จะใช้สาย UTP 

ข้อดีของ STP
                -  ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
                -  ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
                -  เดินได้ไกลกว่า UTP
ข้อเสียของ STP
                -  มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
                -  ราคาแพงกว่าสาย UTP

ตารางแสดงการแบ่งแยกประเภทของสาย UTP, STP และประเภทการใช้งาน การแยก
ประเภทการใช้งานเพราะการรองรับความเร็วและการตอบสนองต่อสัญญาณแตกต่างกัน

ประเภทสาย
การประยุกต์ใช้
ชนิด 1 (Category 1)
ครอบคลุมสาย UTP Voice-grade ใช้กับงานโทรศัพท์ สัญญาณเสียงแบบอนาล็อก เสียงแบบดิจิตอล (ไม่ใช่สัญญาณข้อมูล)
ชนิด 2 (Category 2)
ครอบคลุมสาย UTP Data-grade ที่ส่งสัญญาณข้อมูลด้วยความเร็ว 4 Mbps สายเคเบิลประเภทนี้ใช้ใน Topology แบบวงแหวนบางประเภทใช้ ISDN แบบ 1.44 Mbps เสียงแบบดิจิตอล, IMB 3207, IBM SYSTEM 31X AS /400
ชนิด 3 (Category 3)
ครอบคลุมสาย UTP Data-grade ที่ส่งสัญญาณข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps ใช้ในระบบเครือข่าย 10 BASE-T, 4 Mbps Token Ring IBM 3207, SYSTEM /36, AS /400, ISDN, VOICE
ชนิด 4 (Category 4)
ครอบคลุมสาย UTP Data-grade ที่ส่งสัญญาณข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Mbps ใช้ในระบบเครือข่าย 10 BASE-T, 16 Mbps Token Ring
ชนิด 5 (Category 5)
ครอบคลุมสาย UTP Data-grade ที่ส่งสัญญาณข้อมูลด้วยความเร็ว 100 Mbps ใช้ในระบบเครือข่าย 100 BASE-X Ethernet (10 BASE-T 16 Mbps Token Ring 100 Mbps)
สาย STP 150 โอห์ม
16 Mbps Token Ring 100 Mbps สายสัญญาณวิดีโอ


               
                เหตุที่ต้องพันสายให้เป็นเกลียว      เพราะเนื่องจากการพันเป็นเกลียวของสายไฟนี้จะปกป้องสายสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก (Crosstalk) และจากสัญญาณบิดเบือนซึ่งถูกสร้างขึ้นจากแหล่งอื่นที่อยู่ใกล้กับสายเคเบิล เช่น จากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นความถี่วิทยุที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์และหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนจำนวนของเกลียวที่พันเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการต่อต้านสัญญาณรบกวนต่าง ๆ เนื่องจากสายคู่พันเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงถึง 105 เฮิรตซ์ หรือ 106 เฮิรตซ์ ผ่านได้ สายคู่พันเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร (สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่พันนี้จะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย คือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางโต จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูล ด้วยอัตราการส่งสูง)
                หัวเชื่อมต่อ (Connector) คือ จุดปลายของสาย UTP หัวเชื่อมต่อ (Connector) แบบที่เรียกว่า RJ-45 ซึ่งมีเอาไว้เป็นหัวเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ สังเกตว่า RJ-45 มีหน้าตาคล้ายกับแจ็กของสายโทรศัพท์ (RJ-11) ที่เราใช้กัน การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐาน คือ TIA/EIA 568A และ 586B
                วิธีเข้าหัวต่อ RJ45
1.             ปลอกเปลือกนอก
2.             จัดเรียงสายตามลำดับ
3.             ตัดสายให้มีขนาดพอดี
4.             แล้วใส่สายที่เตรียมเอาไว้เข้ากับหัวต่อ
5.             ใช้เครื่องมือเข้าหัวย้ำสาย
ตารางการเข้าหัว
EIA/TIA 586-A
ช่องที่
สาย (สี)
1
ขาวของเขียว
2
เขียว
 3
ขาวของส้ม
4
น้ำเงิน
5
ขาวของน้ำเงิน
6
ส้ม
7
ขาวของน้ำตาล
8
น้ำตาล






EIA/TIA 586-B
ช่องที่
สาย (สี)
1
ขาวของส้ม
2
ส้ม
3
ขาวของเขียว
4
น้ำเงิน
5
ขาวของน้ำเงิน
6
เขียว
7
ขาวของน้ำตาล
8
น้ำตาล



                1.2  สายโคแอกเซียล ( Coaxial Cable)
                เรียกสั้น ๆ ว่า "สายโคแอก" เป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ สายโคแอกเป็นสายส่งที่มีการใช้งานกันมาก ไม่ว่าจะเป็นสายเชื่อมโยงระบบแลนบางชนิด สายเคเบิลทีวี หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิโอ  มีส่วนประกอบ 4 อย่าง  โดยที่มีศูนย์กลางเป็นลวดทองแดงที่ทำหน้าที่เห็นสื่อนำสัญญาณห่อหุ้มด้วยชั้นของฉนวนที่ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทำจากพลาสติกพีวีซี  ถัดจากชั้นของฉนวนจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปกป้องสายนำสัญญาณ  โดยมีสักษณะเป็นโลหะ  ทองแดง  หรืออะลูมิเนียมถัดเป็นตะแกรง  ชั้นนี้จะปกป้องสัญญาณที่ทำการส่งจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่าสัญญาณรบกวน  หรือ  Noise  ซึ่งจะทำให้สัญญาณถูกบิดเบือน  และสุดท้าย  คือ  ชั้นนอกสุดเป็นสิ่งห่อหุ้มภายนอก  หรือแจ๊กเก็ตที่ทำจาก PVC หรือวัสดุที่ทนไฟอย่างเทฟลอน เป็นต้น
สายโคเอ็กเชียล  เป็นสายชีลด์ที่หุ้มส่วนของตัวนำไว้  คุณลักษณะเด่นของสาวโคเอ็กเชียล คือ  มีภูมิต้านทานต่อสัญญาณรบกวนโดยเฉพาะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ดังนั้นสายโคเอ็กเชียลจึงเป็นสายที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสัญญาณรบกวนมาก
                สายโคเอ็กเชียล  เป็นสายที่นิยมใช้งานในระบบโทโปโลยีแบบบัส  เพราะการใช้โทโปโลยีแบบบัสทำให้ใช้จำนวนสายโคเอ็กเชียลน้อยกว่าแบบสตาร์  นอกจากนี้การใช้สายโคเอ็กเชียลยังทำให้ได้ระยะทางมากกว่า
                สายโคเอ็กเชียล  มีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมายเช่นเดียวกับสายคู่พันเกลียว  แต่ในเรื่องของระบบเครือข่ายแล้ว  สายที่รู้จักกันดีที่สุดคือสายเคเบิลที่ใช้สำหรับระบบเครือข่าย  Thin Ethernet  และ  Thick Ethernet
                -  Thin Ethernet  หรือเรียกว่า  ThinNet  ใช้สายโคเอ็กเชียลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3/8  นิ้ว  หรือที่เรียกว่าสาย  RG-58  ระบบสายเคเบิลของ  ThinNet  นี้สามารถนำสัญญาณไปได้ระยะทาง  185  เมตร  ก่อนที่สัญญาณจะค่อย ๆ  ลดคุณภาพลง
               -  Thick Ethernet  หรือเรียกว่า  ThickNet  ใช้สายฌคเอ็กเชียลที่มีความสามารถในการโค้งงอได้น้อยกว่า  โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ½  นิ้ว  หรือเรียกว่าสาย  RG-8  สายเคเบิล  ThickNet  สามารถนำสัญญาณไปได้ไกลกว่าสายเคเบิล  ThinNet  คือ ประมาณ  500  เมตร
                ข้อแตกต่างระหว่าง Thin Ethernet  และ  Thick Ethernet
ตามหลัการนำสัญญาณ  สายที่ใหญ่กว่าย่อมนำสัญญาณได้ดีกว่าทั้งทางด้านคุณภาพของสัญญาณและการส่งที่สามารถส่งได้ไกลกว่า  แต่  ThickNet  มีการติดตั้งที่ยุ่งยากเนื่องจากเป็นสายทีแข็งโค้งงอได้น้อยและมีราคาแพงทำให้เป็นที่นิยม  และในขณะที่  ThinNet  มีความยีอหยุ่นกว่าทำให้ง่ายในน็็ฯ็็้สีนนษษสการติดตั้ง  และที่สำคัญราคาถูกกว่ามาก
                หัวเชื่อมต่อ (Connector)  ทั้งสายแบบ ThinNet และ  ThickNet  จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน  ซึ่งเรียกว่า  BNC  โดยมีหลายหลากรูปแบบ ต่อไปนี้
-                   หัวเชื่อมสาย  BNC (BNC Cable Connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมปลายสาย
-                   หัวเชื่อมสายรูปตัว T (BNC T-connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายกับ
เน็ตเวิร์คการ์ด
-                   หัวเชื่อมสายแบบ  Barrel (BNC Barrel Connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อให้สายมีความ
ยาวเพิ่มขึ้น
-                   ตัวสิ้นสุดสัญญาณ  (BNC Terminator)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดสัญญาณที่เดินทางมาจน
สุดสายแล้วไม่ให้สะท้อนกลับไปรบกวนสัญญาณอื่น ๆ  นิยมใช้กับโทโปโลยีแบบบัส
        
1.3   สายใยแก้วนำแสง (Fiber optic cable)                 คือ เส้นใยโปร่งแสงทรงกระบอกขนาดเล็กตัน โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ทำเส้นใยแก้วนำแสงมักเป็นสารประกอบประเภท ซิลิกา หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ ( SIO2 ) ซึ่งก็คือ แก้วบริสุทธิ์นั่นเอง
                ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ได้แก่สายตัวนำทองแดง
                ปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสารอย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัทผู้ให้บริการต่าง ๆ ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะให้อาคารที่สร้างใหม่มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสง
                หากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสายยูทีพีแบบเกรดที่ดี เช่น แคต 5 ขณะเดี่ยวกันสายเส้นใยแก้วนำแสงให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามากและรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่า                 สายยูทีพีแบบแคต 5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้ว
                             
1.3.1  ข้อดี ข้อเสีย ของเส้นใยแก้วนำแสง
               จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วย

                ข้อดี                - ความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร
               เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์                 -กำลังสูญเสียต่ำ
                เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนค่างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2000 เมตร ต้องใช้รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร                 หากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถึ่มีผลต่อกำลังสูญเสีย โดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติของสายตัวนำทองแดงจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถึ่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดงสูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสงเราใช้สัญญาณความถี่มอดูเลตไปกับแสง การเปลี่ยนสัญญาณรับส่งข้อมูลจึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสง                 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้
                ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดงคือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การำม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล                 แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก                 น้ำหนักเบา
                เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของสายยูทีพีแบบแคต 5
                -  ขนาดเล็ก 
                เส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้วเล็กกว่าลวดทองแดงมาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสงเมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของเส้นลวดยูทีพีแบบแคต
                มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า
                การใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการตัดฟังข้อมูล                 มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
                การที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น

                ข้อเสีย
                -  ความเข้าใจผิดบางประการ
                แต่เดิมเส้นใยแก้วนำแสงมีใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ หรือใช้เป็นเครือข่ายแบบแบ็กโบน เทคโนโลยีเกี่ยวกับเส้นใยแก้วนำแสงก็ยังไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้เกิดความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งาน                 -  แตกหักได้ง่าย
                ด้วยความคิดที่ว่า "แก้วแตกหังได้ง่าย" ความคิดนี้จึงเกิดขึ้นกับเส้นใยแก้วด้วย เพราะวัสดุที่ทำเป็นแก้ว ความเป็นจริงแล้วเส้นใยแก้วมีความแข็งแรงและทนทานสูงมาก การออกแบบใยแก้วมีเส้นใยห้อมล้อมไว้ ทำให้ทนแรงกระแทก นอกจากนี้แรงดึงในเส้นใยแก้วยังมีความทนทานสูงกว่าสายยูทพี หากเปรียบเทียบเส้นใยแก้วกับสายยูทีพีแล้วจะพบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีคุณสมบัติหลายอย่างต่ำกว่าเส้นใยแก้ว เช่น การดึงสาย การหักเลี้ยวเพราะลักษณะคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ความถี่สูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า                 -  เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพง
                 แนวโน้มทางด้านราคามีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูททีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักนอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไป                 -  เส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้
                ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลนแบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155 เมกะบิต แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดงผลเป็นภาพวิดีโอ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนการของการ์ดก็ได้พัฒนาไปมากเอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้นำแสงยังสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดี                 1.3.2  เส้นใยแก้วนำแสงมี 2 แบบ
               คุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งแยกได้ตามลักษณะคุณสมบัติของตัวนำแสงที่มีลักษณะการให้แสงส่องทะลุในลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเนื้แก้วนี้จะกระจายแสงออก ซึ่งในกรณีนี้การสะท้อนของแสงกลับต้องเกิดขึ้น โดยผนังแก้วด้านข้างต้องมีดัชนีหักเหของแสงที่ทำให้แสงสะท้อนกลับ เพื่อลดการสูญเสียของพลังงานแสง วิธีการนี้เราแบ่งแยกออกเป็นสองแบบคือ แบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมด                 1.  ซิงเกิลโหมด                เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด


2.  มัลติโหมด
                เป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับเคล็ดดิงให้สะท้อนกลับหมด หากการให้ดัชนีหักเกของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อยเราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากให้แสงสะท้อนดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่าแบบ สเต็ปอินเด็กซ์
                เส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลน ส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของแคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตร
คุณสมบัติของเสันใยแก้วนำแสงแบบสแต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์

1.3.3  ตัวส่งแสงและรับแสง
                การใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณแสงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณแสงหรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือ LED หรือเลเซอร์ไดโอด อุปกรณ์ส่งแสงนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง ส่วนอุปกรณ์รับแสงและเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า คือโฟโต้ไดโอด
                อุปกรณ์ส่งแสงหรือ LED ใช้พลังงานเพียง 45 ไมโครวัตต์ สำหรับใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงแบบ 62.5/125 การพิจารณาอุปกรณ์นี้ต้องดูที่แถบคลื่นแสง โดยปกติใช้คลื่นแสงย่านความยาวคลื่นประมาณ 830 ถึง 850 นาโนเมตร หรือมีแถบกว้างประมาณ 25-40 นาโนเมตร ดังนั้นข้อกำหนดเชิงพิกัดของเส้นใยแก้วนำแสงจึงกล่าวถึงความยาวคลื่นแสงที่ใช้ในย่าน 850 นาโนเมตร
                ตัวรับแสงหรือโฟโต้ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณแสงและมีความไวต่อความเข้มแสง คลื่นแสงที่ส่งมามีการมอดูเลตสัญญาณข้อมูลเข้าไปร่วมด้วย
                อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งแสงนี้มักทำมาสำเร็จเป็นโมดูล โดยเฉพาะเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณข้อมูลที่เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง และทำให้สะดวกต่อการใช้งาน                

1.3.4  การเชื่อมต่อ และหัวต่อ                 ที่ปลายสายแต่ละเส้นจะมีหัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะผ่านหัวต่อไปยังอีกหัวต่อโดยเสมือนเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียวได้                 เมื่อเอาเส้นใยแก้วมาเข้าหัวที่ปลายแก้วจะมีลักษณะที่ส่งสัญญาณแสงออกมาได้ และต้องให้กำลังสูญเสียต่ำที่สุด ดังนั้นจึงมีวิธีที่จะทำให้ปลายท่อแก้วราบเรียบที่จะเชื่อมสัญญาณแสงต่อไปได้                 ดังนั้นก่อนที่จะเข้าหัวต่อจึงต้องมีการฝนปลายท่อแก้ว วิธีการฝนปลายท่อแก้วนี้มีหลายวิธี เช่น การฝนแบบแบนราบ (Flat) การฝนแบบ PC และแบบ APC แต่ละแบบ 
 การกระทำแต่ละแบบจะให้การลดทอนสัญญาณต่างกัน และยังต้องให้มีแสงสะท้อนกลับน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ลักษณะของหัวต่อเมื่อเชื่อมถึงกันแล้วจะต้องให้ผิวสัมผัสการส่งแสงทะลุถึงกัน เพื่อให้กำลังสูญเสียความเข้มแสงน้อยสุด โดยปกติหัวต่อที่ทำการฝนแก้วแบบแบนราบมีกำลังสูญเสียสูงกว่าแบบอื่น คือประมาณ -30 dB แบบ PC มีการสูญเสียประมาณ -40dB และแบบ APC มีการสูญเสียความเข้มน้อยสุดคือ -50 dB

1.3.5  การประยุกต์ใช้เส้นใยแก้วนำแสง

                แนวโน้มการใช้งานเส้นใยแก้วนำแสงได้เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดขึ้น ทั้งนี้เพราะมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับการใช้เส้นใยแก้วนำแสง โดยเน้นที่ความเร็วของการรับส่งสัญญาณ เส้นใยแก้วนำแสงมีข้อเด่นในเรื่องความเชื่อถือสูง เพราะปราศจากการรบกวน อีกทั้งยังสามารถใช้กับเทคโนโลยีได้หลากหลายและรองรับสิ่งที่จะเกิดใหม่ในอนาคตได้มาก

          ตัวอย่างการใช้งานต่อไปนี้  เป็นรูปแบบให้เห็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในอาคารในสำนักงาน โดยสามารถเดินสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้นำแสงตามมาตรฐานสากล คือมีสายในแนวดิ่ง และสายในแนวราบ สายในแนวดิ่งเชื่อมโยงระหว่างชั้น ส่วนสายในแนวราบเป็นการเชื่อมจากผู้ใช้มาที่ชุมสายแต่ละชั้น

   จากลักษณะของการเดินสายตามมาตรฐาน EIA 586 นี้ สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยี   ต่าง ๆ  ได้มาก  เช่น  
                การใช้เทคโนโลยี 10BASE F
                การใช้อีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE F เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้ใช้แบบเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตโดยตรง ความเร็วสัญญาณยังคงอยู่ที่ 10 เมกะบิต และหากเป็น 10BASE F ก็เป็นความเร็ว 10 เมกะบิต ขณะนี้มีการพัฒนาระบบอีเธอร์เน็ตให้เป็นแบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ต หรือความเร็วสัญญาณอยู่
ที่ 1,000 เมกะบิต การเดินสายด้วยเส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเหมือนกับสายยูทีพี โดยใช้ชิปเป็นตัวกระจายพอร์ตต่าง ๆ                เทคโนโลยีนี้มีใช้มานานแล้ว เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วของสัญญาณที่ 100 เมกะบิต และใช้สายสัญญาณเป็นเส้นใยแก้วนำแสง มีโครงสร้างเป็นวงแหวนสองชั้นและแตกกระจายออก การเดินสายสัญญาณตามมาตรฐาน EIA 568 ก็จัดให้เข้ากับ FDDI ได้ง่าย FDDI มีข้อดีคือสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายระยะไกลได้ มีจำนวนโหนดบน FDDI ได้ถึง 1,000 โหนด การจัดโครงสร้างต่าง ๆ ของ FDDI สามารถทำผ่านทางแพตช์ที่เชื่อมต่อให้ได้รูปตามที่ FDDI ต้องการ ในลูปวงแหวนหลักของ FDDI ต้องการวงแหวนสองชั้น ซึ่งก็ต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำนวนทั้งหมด 4 ลำแสง FDDI  ยังเป็นเครือข่ายหลักหรือแบ็กโบนเพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นได้ เช่น เชื่อมต่อกับอีเธอร์เน็ต กับโทเค็นริง ไดอะแกรมของ FDDI  

               เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อรองรับการใช้งานที่ความเร็วสูงมาก เอทีเอ็มสามารถใช้ได้กับความเร็ว 155 เมกะบิต 622 เมกะบิต และสูงเกินกว่ากิกะบิตในอนาคต โครงสร้างการเดินสายเอทีเอ็มมีลักษณะแบบดาว เป็นโครงสร้างการกระจายสายสัญญาณซึ่งตรงกับสภาพการใช้เส้นใยแก้วนำแสงอยู่แล้ว                 ลักษณะของแพตช์และการกระจายสายสัญญาณเพื่อใช้กับเส้นใยแก้วนำแสงในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนเข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในรูปที่ 14 การวางโครงสร้างของสายสัญญาณเส้นใยแก้วจึงไม่แตกต่างกับสายยูทีพี

                1.3.6  การใช้เส้นใยแก้วนำแสงในอนาคต                ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการใช้งานสายยูทีพีอย่างแพร่หลายและได้ประโยชน์มหาศาสล แต่จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องการให้ถนนของข้อมูลข่าวสารเป็นถนนขนาดใหญ่ที่เรียกว่าซูเปอร์ไฮเวย์ การรองรับข้อมูลจำนวนมากและการประยุกต์ในรูปแบบมัลติมีเดียที่กำลังจะเกิดขึ้นย่อมต้องทำให้สภาพการใช้ข้อมูลข่าวสารต้องพัฒนาให้รองรับกับจำนวนปริมาณข้อมูลที่จะมีมากขึ้น 
                จึงเชื่อแน่ว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นสายสัญญาณที่ก้าวเข้ามาในยุคต่อไป และจะมีบทบาทเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้วเราคงจะได้เห็นอาคารบ้านเรือน สำนักงาน หรือโรงงาน มีเส้นใยแก้วนำแสงเดินกระจายกันทั่วเหมือนกับที่เห็นสายไฟฟ้ากำลังอยู่ในขณะนี้และเหตุการณ์เหล่านี้คงจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานัก

 2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองด์กรมีประโยชน์อย่างไร
พื้นฐานระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในระบบธุรกิจ ซอฟต์แวร์ต่างๆ ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานคนเดียว (Single User) และมีโปรแกรมส่วนน้อยที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหลายๆเครื่อง  ประกอบกับเทคโนโลยีมีในขณะนั้นไม่สนับสนุนการเชื่อมต่อ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการใช้งานมากขึ้นและนักพัฒนาโปรแกรมได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นแลรองรับการทำงานแบบผู้ใช้หลายคน จึงเป็นสาเหตุให้บริษัทต่างๆ เห็นความสำคัญในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารข้อมูลหรือการรับส่งสารสนเทศระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จึงกลายมาเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ต้องให้ความสำคัญ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายจึงเป็นเทคโนโลยีที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ จึงเกิดความต้องการระบบเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบเครือข่ายในปัจจุบันมีความหลากหลาย เมื่อกล่าวถึงระบบเครือข่าย  คนส่วนมากจะนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันและมีการใช้งานเอกสารและอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) การใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบเครือข่ายหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่ในแผนกที่อยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือต่างอาคารก็ได้ เนื่องจากการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย คือ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น การดำเนินธุรกรรมกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน การถอนเงิน การตรวจสอบยอดบัญชี สิ่งเหล่านี้สามารุดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังธนาคาร แต่สามารถดำเนินธุรกรรมดังกล่าวได้ผ่านเครื่องบริการเงินด่วนหรือเครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งเราอาจใช้บริการอยู่ภายในจังหวัดหรือต่างจังหวัดที่ห่างไกลกันได้ เพราะเครื่องเอทีเอ็มเหล่านี้ได้เชื่อมต่อกันออนไลน์กันในลักษณะเครือข่าย ทำให้สามารถสื่อสารและใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งสารสนเทศที่ใช้งานร่วมกันนั้นไม่ใช่เพียงเอกสารตัวอักษรเท่านั้น บางระบบเครือข่ายสามารถส่งผ่านข้อมูลเป็นระบบเสียงออดิโอและวิดีโอ นอกจากนี้ยังสามารถประชุมด้วยวิดีทัศน์ได้
1.       การสื่อสารข้อมูลและการส่งสัญญาณข้อมูล
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ  โดยส่งผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน  เมื่อถึงยุคการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการสื่อสาร จึงเพิ่มคำว่าข้อมูลต่อท้าย ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ซึ่งมักจะอยู่ในที่ห่างไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล


1.1    ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่าย  โมเด็ม (MODEM) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลได้ก่อน
1.2    ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)        
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ โมเด็ม (MODEM) ไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
1.3    โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X25, SDLC เป็นต้น
1.4    ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT ฯลฯ
1.5    ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปต่างๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสารซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
1)       ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้ และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
2)       ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนชัดเจน นับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
3)       รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่างๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้ต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
4)       เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจายไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็วค่อนค้างต่ำ
1.6    ตัวกลาง (Medium)
ตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่างๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับอุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่ สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าวสาร ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกส่งออกไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ตัวกลางที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted pair) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และตัวกลางที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
2.       ระบบเครือข่ายคืออะไร
ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time) ที่เรียกเครือข่ายว่ากลุ่มของเทคโนโลยีเพราะระบบเครือข่ายทุกระบบต้องประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง เช่น สายไฟ เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ระบบเครือข่ายอนุญาตให้ผู้ใช้ใช้ข้อมูลและโปรแกรมร่วมกัน ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนจึงไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ไว้ในเครื่องตนเอง
ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซีมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล 

โครงสร้างองค์กรในส่วนของระบบเครือข่ายมี 2 แบบ คือ องค์กรแบบไม่มีเครือข่าย และแบบที่มีระบบเครือข่ายใช้งาน พนักงานในองค์กรแบบไม่มีเครือข่าย จะทำงานเป็นอิสระต่อกัน ข้อมูลของแต่ละคนจะถูกจัดเก็บหรือพิมพ์ออกมาสำหรับสำหรับพนักงานผู้นั้นเท่านั้น การนำข้อมูลส่วนหนึ่งไปป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งอาจต้องพิมพ์เข้าไปใหม่ทั้งหมดหรือดีที่สุดคือการคัดลอกสำเนาแฟ้มข้อมูล (Copy files) จากแผ่นดิสก์ จะเห็นได้ว่าระบบงานแบบนี้อาจเกิดปัญหาขึ้นสามลักษณะ คือ  มีข้อมูลซ้ำซ้อนเกิดขึ้นในระหว่างการทำและคัดลอกสำเนาแฟ้มข้อมูล การใช้แรงงานเพิ่มขึ้น และการพมพ์ข้อมูลเข้าไปใหม่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้
ส่วนโครงสร้างองค์กรแบบมีระบบเครือข่ายใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในระบบนี้ข้อมูลที่พนักงานผู้หนึ่งได้จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะสามารถส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผ่านระบบเครือข่ายโดยตรง  ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนพิมพืข้อมูลใหม่หรือจัดทำและคัดลอกสำเนาลงแฟ้มข้อมูล จึงช่วยลดเวลาที่ต้องนำมาใช้ทำงานส่วนนี้ พร้อมทั้งสามารถรับประกันความถูกต้องของข้อมูลต้นฉบับ

3.       ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายมีประโยชน์หลายอย่าง แต่มี 4 อย่างหลักๆ คือ
1)       การใช้งานพร้อมกัน หมายถึง ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
ในระบบธุรกิจ  งานบางอย่างต้องให้พนักงานหลายๆ คนใช้ข้อมูลได้พร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รายงานสรุปยอดขายของบริษัทประจำไตรมาส ซึ่งจะต้องถูกเรียกดูและแก้ไขจากผู้จัดการหลายๆ คน ถ้าในระบบธุรกิจนั้นไม่มีระบบเครือข่ายแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องแยกเก็บข้อมูลไว้ใช้ ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่เครื่องอื่นๆ จะไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นข้อมูลแต่ละเครื่องจะไม่สอดคล้องกัน
ระบบธุรกิจจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยการเก็บข้อมูลที่อนุญาตให้ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคนเข้าถึงข้อมูลได้ไว้ที่เน็ตเวิร์กเซิร์ฟเวอร์ (Network Server) ซึ่งเครื่องกลางนี้ต้องมีหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกันได้
ถ้าพนักงานส่วนมากมีการใช้งานโปรแกรมเดียวกัน ทำให้มีการใช้งานไฟล์ข้อมูลเดิมหลายๆ  ครั้ง ในสภาพแวดล้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ไม่มีระบบเครือข่าย จะต้องมีการสำเนาและติดตั้งโปรแกรมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ซึ่งการติดตั้งโปรแกรมทีละเครื่องมีค่าใช้จ่ายมาจาก 2 อย่าง คือ ซอฟต์แวร์มีราคาแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องซื้อซอฟต์แวร์หลายชุด  และการติดตั้งและกำหนดค่าต่างๆ ของโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเสียเวลาและแรงงานมาก รวมถึงการบำรุงรักษาโปรแกรมแต่ละเครื่องจะมีค่าใช้จ่ายที่เติมขึ้น ซึ่งมีสองแนวทางแก้ไข คือ
(1)     การซื้อโปรแกรมประยุกต์แบบไซต์ไลเซนต์ (Site Licenses)
การซื้อโปรแกรมประยุกต์แบบไซต์ไลเซนต์ (Site Licenses) หมายถึง การซื้อโปรแกรมประยุกต์เพียงสำเนาชุดเดียว (หรือ 2-3 ชุด) และเสียค่าใช้จ่ายไลเซนต์ในการทำสำเนาไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในไลเซนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีโปรแกรมอยู่ที่เครื่องและทำงานบนแต่ละเครื่องเหมือนกับการซื้อโปรแกรมสำหรับแต่ละเครื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า
(2)     การซื้อโปรแกรมที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับเครือข่าย (Network Version)
การซื้อโปรแกรมที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับเครือข่าย เป็นการซื้อโปรแกรมที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับเครือข่ายเพียงชุดเดียวติดตั้งบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เน็ตเวิร์ก เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้โปรแกรม ผู้ใช้จะทำการโหลดโปรแกรมจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปยังหน่วยความจำหลักบนเครื่องตนเอง  และผู้ใช้จะใช้งานร่วมกันได้
2)       การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน หมายถึง ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัททางธุรกิจมีการติดตั้งระบบเครือข่าย คือ อุปกรณ์บางชนิดมีราคาแพง เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์  เป็นต้น ถึงแม้ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ทีราคากว่การติดตั้งระบบเครือข่าย แต่ถือว่ามีราคาสูงเกินไปถ้าต้องจัดเตรียมเครื่องพิมพ์ให้พนักงานทุกคน นอกจากค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องแล้ว ยังมีค่าบำรุงรักษาที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตาม แต่ถ้าใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันในระบบเครือข่ายแล้ว ค่าใช้จ่ายจะถูกลงและการดูแลรักษาก็ง่ายขึ้น
3)       การสื่อสารส่วนบุคคล  หมายถึง ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการสื่อสารที่เป็นที่นิยมก็คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) เป็นระบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อความผ่านระบบเครือข่าย อีเมล์เหมือนกับเป็นการรวมการทำงานของระบบไปรษณีย์กับระบบตอบรับโทรศัพท์
การรับส่งอีเมล์ผ่านเครือข่ายในบริษัทต่างๆ ก็เหมือนกับการรับส่งอีเมล์ในระบบอินเทอร์เน็ต ปกติแล้วระบบเครือข่ายภายในบริษัทต่างๆ จะเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นพนักงานภายในบริษัทสามารถส่งและรับข้อความจากระบบเครือข่ายหรือระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้
นอกจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้วยังมีเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม คือ การประชุมทางไกล (teleconferencing) และการประชุมด้วยวิดีทัศน์ (videoconferencing)
การประชุมระยะไกล เป็นการประชุมเสมือนที่แต่ละผู้ประชุมที่อยู่คนละที่กัน สามารถที่จะโต้ตอบแสดงความคิดเห็นกัน โดยการพิมพ์ข้อความถึงกันโดยแต่ละข้อความ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสามารถอ่านได้ โปรแกรมการประชุมระยะไกลมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เมื่อมีการเพิ่มความสามารถในการใช้กระดาษโน้ตในการวาดไดอะแกรมหรือภาพต่างๆ ร่วมกัน
เทคโนโลยีระบบเครือข่ายส่งเสริมให้ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะซอฟต์แวร์ประเภทนี้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่ายหรือผ่านโมเด็ม และสามารถเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ยังใช้ในการส่งข้อความและเปลี่ยนไฟล์ และบางครั้งสามารถให้ผู้ใช้หลายคนทำงานบนเอกสารเดียวกันในเวลาเดียวกันได้
ถ้าผู้ใช้มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น (เช่น กล้องวิดีโอ ไมโครโฟน และลำโพง) และซอฟต์แวร์ ผู้ใช้สามารถมองเห็นและพูดคุยกับคนอื่นที่เจอกันขณะออนไลน์ได้แทนที่จะเห็นเพียงข้อความอย่างเดียว หรือ การประชุมด้วยวิดีทัศน์
4)       การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น  หมายถึง ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย
            ข้อมูลในระบบธุรกิจมีค่ามาก ดังนั้นพนักงานต้องทำการสำรองข้อมูลไว้ ทางหนึ่งที่แน่ใจว่าข้อมูลถูกสำรองไว้ก็คือเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยความจำสำรองที่ผู้ใช้สามารถติดต่อโดยผ่านระบบเครือข่ายได้ ปกติแล้วผู้จัดการระบบเครือข่ายจะทำหน้าที่ในการสำรองข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ดังนั้นจึงต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะในการสำรองข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของพนักงาน โดยไม่ต้องไปทำงานกับเครื่องแต่ละเครื่องที่ต้องการสำรองบข้อมูลแต่อย่างใด ด้วยวิธีนี้จึงไม่ต้องมีการสำเนาไฟล์พนักงานมาไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ก่อนทำการสำรองข้อมูล
4.       โครงสร้างระบบเครือข่าย
โครงสร้างระบบเครือข่ายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ แลน (LANs: Local Area Networks) และแวน (WANs: Wide Area Network) และมีระบบเครือข่ายอื่นๆ คือ แคน (CANs: Campus Area Networks) และ แมน (MANs: Metropolitan Area Networks)
4.1    ระบบเครือข่ายแบบแลน (LANs: Local Area Networks)
แลน คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใกล้ๆ  กัน โดยแต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยใช้สายเคเบิล อินฟราเรด หรือสายไฟ แลนอาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 ถึง 3 เครื่องที่ใช้แหล่งข้อมูลร่วมกัน หรืออาจประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายร้อยเครื่องและเป็นคนละชนิดกัน ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายนั้นจะอยู่ในตึกเดียวกันหรือตึกใกล้เคียงก็ตาม
ประโยชน์ของการเชื่อมต่อเครือข่ายแลนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น สองแผนกในบริษัทขนาดใหญ่มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างแผนก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเชื่อมระบบเครือข่ายของทั้งสองแผนก
ระบบเครือข่ายแลนจะมีโปรโตคอล (protocol) คือ กฎเกณฑ์และรูปแบบสำหรับการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย โดยโปรโตคอลที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ไอพีเอ็กซ์/เอสพีเอ็กซ์ (IPX/SPX) เน็ตบียูไอ (NetBEUI)
ระบบแลนสองระบบมีกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสารที่เหมือนกันแล้ว สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันดังนี้
1)       ฮับ (Hub) คือ เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเสียบสายเคเบิลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าที่ฮับ ทำหน้าที่ กระจายสัญญาณส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับ และทำการรวมสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ทุกตัว
2)       บริดจ์ (Bridge) คือ   เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสองเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับอีเทอร์เน็ต บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบกระจาย (boardcasting) ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพกเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเสมือนเป็นตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตนไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเกนริง เป็นต้น
3)       เราท์เตอร์ (Router) คือ  อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบแลนและแวน  เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งต่อมีมาตรฐานทางเครือข่ายที่แตกต่างออกไป ก็จะแปลงให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เช่น รับข้อมูลมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อทางพอร์ตแวนที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่ายแวนได้
               ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมาก ทำให้การใช้งานเราท์เตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้

4.2    ระบบเครือข่ายแบบแคน (CANs: Campus Area Networks)
แคนมีกฎเกณฑ์เหมือนกับแลนแต่มีขนาดใหญ่ และหลากหลายมากกว่า แคนทำให้สำนักงานของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้ ตัวอย่างเช่น ในมหาวิทยาลัยมีการเชื่อมต่อแผนกการเงินกับแผนกทะเบียนของมหาวิทยาลัย เมื่อนักศึกษาจ่ายเงินค่าลงทะเบียนที่แผนกการเงิน ข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังแผนกทะเบียนด้วย  ทำให้ขั้นตอนการลงทะเบียนของนักศึกษาสมบูรณ์
4.3    ระบบเครือข่ายแบบแมน (MANs: Metropolitan Area Networks)
แมน คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายแลนหลายๆ ระบบเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน เครือข่ายแมนอยู่กระจายห่างกันทั่วเมือง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร ปกติแล้วระบบเครือข่ายแบบแมน จะไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของ สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารต่างๆ  จะดูแลโดยบริษัทหรือกลุ่มของผู้ให้บริการระบบเครือข่าย แมนเป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูง และทำให้สามารถใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้
4.4    ระบบเครือข่ายแบบแวน (WANs: Wide Area Network)
แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และโปรแกรม นอกจากนี้แต่ละอผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างแผนก บริษัทสามารถติดตั้งเราท์เตอร์เพื่อสร้างระบบแวนผ่านสายโทรศัพท์ ตัวอย่างเช่น เครื่องเมนเฟรมที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบแวนโดยเครื่องทั้งคู่ต้องอยู่ในระบบเครือข่ายแลน
5.       ระบบเครือข่ายภายในบ้าน
ระบบเครือข่ายภายในบ้านได้รับความนิยมมากขึ้นพร้อมๆ กับจำนวนบ้านที่มีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และจำนวนผู้ใช้ที่ต้องการติดต่อสื่อสารมากขึ้น ระบบเครือข่ายได้จัดเตรียมประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเหมือนกับที่จัดเตรียมให้บริษัทต่างๆ ระบบเครือข่ายภายในบ้านได้อนุญาตให้ผู้ใช้จัดสรรการทรัพยากรร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ และการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับวินโดวส์ 98 และวินโดวส์ 2000 ผู้ใช้ตามบ้านสามารถหมุนโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน
วินโดวส์เอ็กซ์พีโฮมเอดิชันสามารถติดตั้งและกำหนดค่าต่างๆ ของระบบเครือข่ายภายในบ้านได้ง่าย โดยใช้ความสามารถของ Home Networking ซึ่งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์รอบข้างภายในบ้านร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์  แสกนเนอร์  รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน  ระบบเครือข่ายภายในบ้านควรจะติดตั้งไฟร์วอลล์เพื่อช่วยป้องกันระบบเครือข่ายจากการคุกคามของผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
ในอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจะสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบให้ความบันเทิง ระบบไฟฟ้า ระบบให้ความเย็น ระบบรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์ภายในครัว ในขณะที่การใช้เครือข่ายภายในบ้านมีมากขึ้นก็มีเทคโนโลยีต่างๆ ให้เลือกใช้ได้มากขึ้น เช่นสายคู่บิดเหลียว และฮับ  แต่การใช้วิธีนี้ต้องมีการติดตั้งสายเพิ่ม ซึ่งไม่เป็นการยากเลยถ้าเครื่องทุกเครื่องอยู่ในห้องเดียวกันหรือทำการติดตั้งสายขณะสร้างบ้าน  แต่ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 2-3 เครื่องภายในห้องเดียวกัน การใช้สายโคเอกเชียลจะเป็นวิธีที่ง่ายและเร็ว แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่คนละห้อง การติดตั้งสายไฟอาจไม่สามารถทำได้เสมอไป เพราะเสียค่าใช้จ่ายมากและยากต่อการติดตั้ง
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีผู้นำไปใช้งานระดับหนึ่งก็คือ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ซึ่งบางชนิดเหมาะกับตึกหรืออาคารที่ไม่สามารถติดตั้งสายในการเชื่อมต่อได้ เช่น ตึกที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตหรืออิฐ
ระบบเครือข่ายภายในบ้านไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระบบธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่ ทุกระบบปฏิบัติการที่มีจุดมุ่งหมายสำหรับผู้ใช้ที่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95/2000 และระบบปฏิบัติการของเครือ่งแมคอินทอชได้จัดเตรียมความสามารถในการทำงานและเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไว้โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม
6.       การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ระบบเครือข่ายอย่างมาก คือ หน่วยงานของรัฐ  ตัวอย่างเช่นกรมสรรพากรเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ใช้ระบบเครือข่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียภาษี ระบบการเสียภาษีแบบใหม่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีโดยพาะบริษัทขนาดใหญ่ เรียกว่าระบบการกรอกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic filling) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถป้อนข้อมูลการเสียภาษีของตนเองผ่านระบบกรอกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้เสียภาษีอาจนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน  ซึ่งข้อมูลที่ป้อนจะส่งผ่านระบบเครือข่ายไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมสรรพากร การทำงานในระบบนี้ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้อย่างมาก เนื่องจากข้อมูลนั้นถูกป้อนเข้ามาโดยผู้เสียภาษีเอง จึงอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมสำหรับประมวลผลได้ทันที และยังมีความถูกต้องสูงมากด้วย นอกจากนี้ผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรเองก็สามารถนำระบบการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ร่วมกับระบบทำให้การชำระภาษีและการคืนเงินภาษีส่วนเกินทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ

3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองด์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย
         การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดบนสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว เช่น สายคู่บิตเกลียว สายโคแอ็กเซียว หรือสายใยแก้วนำแสง โดยสัญญานที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว ( Broadcast) คือ ส่งออกไปทั้งสองทิศทางไปยังทุกส่วนของระบบเครือข่ายนั้นโดยมีซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งกับอุปกรณ์แต่ละตัวเป็นตัวควบคุมการสื่อสาร ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่มีอุปกรณ์ตัวใดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระบบเลย ในกรณีนี่ถ้าอุปกรณ์ใดก็ตามหยุดการทำงานไปก็จะไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่ยังคงทำงานอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ขณะเวลาๆ หนึ่งระบบนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งสัญญาณออกมาได้ โดยอุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณจึงจะสามารถเริ่มส่งสัญญาณของตนเองออกมาได้ ถ้ามีอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปส่งสัญญาณออกมาพร้อมกันก็จะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ซึ่งจะทำให้สัญญาณของทุกฝ่ายเสียหายไม่สามารถนำไปใช้งานได้ระบบนี้จะมีประสิทธิภาพตํ่าในกรณีที่มีอุปกาณ์เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก

4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่าง
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรวดเร็วมีผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีมีส่วนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มัลติมีเดีย การจัดการศึกษาทางไกลการสืบค้นข้อมูลจากออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ  นอกจากนี้สื่อยังช่วยตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลและชุมชน  ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และผู้เชี่ยวชาญ โดยนำเอาสื่อช่วยสอนมาใช้  นอกจากนี้แนวโน้มของสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลงมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีบทบาทต่อระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันเหตุการณ์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการศึกษาได้ดังนี้
            1. สามารถส่งเสริมความรู้และการพัฒนาตนเองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
            2. เพิ่มประสิทธิภาพบุคคลให้เข้าสามารถเข้าถึงข้อมูล ประเมินและใช้การสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            3. สามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพและคุณภาพการคิด และการเขียน
            4. สามารถช่วยให้บุคคลได้เรียนรู้และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
            5. สามารถทำได้เสมือนธรรมชาติ
            6. ช่วยให้บุคคลรู้ลึกรู้กว้างและสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
            7. สามารถขยายโอกาสให้บุคคลได้ทำงานอย่างมีจุดหมาย
            8. ทำให้บุคคลมีความสุขกับการศึกษาในยุคสารสนเทศ
            ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อระบบการศึกษาที่มีส่วนช่วยให้การจัดระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด และหากมองในแง่การพัฒนาการศึกษายิ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความก้าวหน้าเพียงใด ย่อมส่งผลให้ระบบการศึกษามีโอกาสได้พัฒนาได้มากยิ่งเท่านั้น