ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซร์ของ นายโชคอำนวย จำปาศรี

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่3 (ตอบคำถามท้ายบท)



1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1.       ขั้นเตรียมข้อมูล
เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
  1.1 การลงรหัส
  1.2 การตรวจสอบ
  1.3 การจำแนก
  1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
 2.  ขั้นตอนการประมวลผล
  คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
  2.1 การคำนวณ
  2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
  2.3 การสรุป
  2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น 
2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้มูลแต่ล่ะแบบ
โครงสร้างของข้อมูล
1. รหัส (Code)
คือ สัญลักษณ์ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้เลขฐานสองเป็นรหัส
2. บิท (Bit : Binary Digit)
คือหลักในเลขฐานสอง ได้แก่ 0 และ 1
3. ไบต์ (Byte)
คือ กลุ่มของบิทโดยกำหนดให้ 8 บิท = 1 ไบต์
4. อักขระ (Character)
คือ รูปแบบ หรือ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนภาษาของมนุษย์ แบ่งได้ ดังนี้
4.1 ตัวอักษร (Font) ได้แก่ A-Z,ก-ฮ เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ได้แก่ 0-9 เป็นต้น
4.3 เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Symbol) ได้แก่ @, &, $ เป็นต้น
5. คำ (Word)
คือ กลุ่มของอักขระรวมกันเป็นความหมาย
6. เขตข้อมูล (Field)
คือ คืออักษรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นรายละเอียด
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ,ที่อยู่หรือตำแหน่ง
7. ระเบียน (Record)
คือ ชุดของเขตข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์
8. แฟ้มข้อมูล
คือ ระเบียน ตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป มีโครงสร้างของข้อมูลเหมือนกัน
และสัมพันธ์กัน มาเก็บไว้ในที่เดียวกัน สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น
แฟ้มข้อมูลนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน
นอกจากโครงสร้างของข้อมูลทั้ง 8 โครงสร้างแล้ว ระบบฐานข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างของข้อมูลเพิ่มอีก 2 ชนิดคือ
เอนทิตี้ (ENTITY) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เช่น เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด
แอททริบิวต์ (ATTRIBUTE) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา ชื่อนักเรียนศึกษา ที่อยู่นักศึกษา เป็นต้น
บางเอนทิตี้ก็ยังประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วน กลายแอททริบิวต์ย่อยมารวมกัน เช่น
แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา ประกอบด้วย บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนั้น
แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษาจึงเป็น แอททริบิวต์ผสม (COMPOSITE ATTRIBUTE)
บางแอททริบิวต์ก็อาจจะไม่มีค่าของตัวมันเอง แต่จะสามารถหาค่าได้จากแอททริบิวต์อื่น เช่น แอททริบิวต์อายุ อาจคำนวณได้จาก แอททริบิวต์วันเกิด ลักษณะเช่นนี้จึงอาจเรียกแอททริบิวต์อายุว่าเป็น แอททริบิวต์ที่แปรผลค่ามา (DERIVED ATTRIBUTE)
3.ให้ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1แฟ้มโดยกำหนด Fieldและ Record ตามเหมาะสม
 แฟ้มข้อมูลและส่วนประกอบ

ในแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ นั้นจำเป็นจะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องการใช้ โดยอาจเก็บเป็นแฟ้มเดียวหรือหลายแฟ้มก็ได้ขึ้นกับจำนวนข้อมูล และการออกแบบการจัดการในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง อาจแบ่งเป็นระเบียน(record) แบบเดียวกันจำนวนหลายระเบียน โดย1 ระเบียนคือข้อมูล 1 รายการนั่นเอง เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียน 1 ระเบียน คือข้อมูลของนักเรียน 1 คน โดยในแต่ละระเบียนอาจแบ่งเป็น เขตข้อมูล (field) โดย แต่ละเขตข้อมูล ก็คือรายการย่อย เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียน เขตข้อมูลอาจเป็น เลขประจำตัว ชื่อ ชื่อสกุล ฯลฯ ดังรูป (โดยควรกำหนดสมบัติต่าง ๆ ของเขตข้อมูลให้เหมาะสม ด้วยเช่น ชื่อเขต ชนิดของข้อมูล ขนาดของเขตข้อมูล)
     

                                                      เขตข้อมูล ระเบียน และแฟ้มข้อมูลนักศึกษา

       http://203.130.141.199/NewDBMS/db02.htm
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
การประมวลผลข้อมูลและการจัดการข้อมูล
1  การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)  การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.1  การประมวลผลแบบแบตซ์  (Batch  Processing)   คือการประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมด  ทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
1.2  การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น
การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  1  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี  แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน  ทั้งนี้เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่    ปัจจุบัน เป็นต้น
www.computer.cmru.ac.th/trid/pto/IT
ขอขอบคุณเเหล่งข้อมูลจากเว็บไซร์


วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 (ตอบคำถามท้ายบท)

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
   
      -  Hardware  หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์   เช่น 
             1) อุปกรณ์รับข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) แทร็กบอล (Track Ball) ฯลฯ 
             2) หน่วยประมวลผลกลาง มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐาน เช่น เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ฯลฯ
             3) หน่วยส่งออก  หรือหน่วยแสดงผล  ประกอบด้วย  จอภาพ (Monitor)  ลำโพง (Speaker) เครื่องพิมพ์ (Printer)
      -  Software  หมายถึง  ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และเป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล   เช่น  โทรศัพท์มือถือ , หุ่นยนต์ในโรงงาน , เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
      -  People ware หมายถึง  บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน  เช่น   นักเขียนโปรแกรม (programmer)  นักวิเคราะห์ระบบ (systems analyst) วิศวกร (engineer)  ผู้เตรียมข้อมูล (data entry)  รวมไปถึงผู้ควบคุมเครื่อง (operator)
      -  Data หมายถึง  ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
      -  Information  หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้   เช่น การเก็บข้อมูลการขายสินค้ารายวันแล้วนำการประมวลผล  เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware , Software และ People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย

       -  ร้านอาหาร
       -  ร้านขายของสะดวกซื้อ
       -  โรงเรียนกวดวิชา
       -  หอพัก หรือ โรงแรม
--------------------------------------------------

ร้านอาหาร #
Hardware =>
-  คอมพิวเตอร์ ครบชุด (NEC [All in one] ) พร้อมติดตั้งโปรแกรมร้านอาหาร เสร็จสรรพ
-  ลิ้นชักเก็บเงิน Posiflex สภาพดี
-  เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ EPSON TM-U220D หรือ Fujitsu FP-410 (ชนิด ความร้อน [Thermal] )
-  อุปกรณ์ POS
-  อินเทอร์เน็ตเราท์เตอร์
Software => 
                โปรแกรม บริหารร้านอาหาร Order Restaurant รุ่น Gold Edition เพราะเป็นโปรแกรม บริหารร้านอาหาร (Order Restaurant) เหมาะสำหรับธุรกิจประเภท ร้านอาหาร, ภัตตาคารร้านกาแฟสดร้านนมสด , ร้านเบเกอรี่ หรือ ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน น่าใช้ ไม่น่าเบื่อ พนักงานเข้าใจเร็ว และส่งเสริมให้ร้านดูดีขึ้น
            คุณสมบัติเด่นของโปรแกรม
• โปรแกรมออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน
• สร้างและปรับเปลี่ยนเมนูได้ตามต้องการ
• มีระบบเมนูที่สั่งอาหารได้รวดเร็ว (Quick Sale)
• สามารถระบุโต๊ะและโซนที่สั่งอาหารได้
• สามารถพิมพ์ รายการสั่งอาหารแยกออกในครัวและบาร์น้ำโดยอัตโนมัติ
• มีระบบตรวจสอบคิวอาหาร
• มีระบบชำระเงิน บัตรเครดิต ระบบสมาชิก (Gift Card), ลูกค้าลูกหนี้ ฯลฯ
• สนับสนุนการใช้งานหน้าจอสัมผัส (Touch screen) และ PDD
People ware => 
                 1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) เพราะต้องมีบุคลากรคอยจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงานให้มากที่สุด
                 2. ผู้ใช้ (User) เพราะเราต้องมีผู้ใช้งานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ


3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ

          ข้อมูล (Data)




        สารสนเทศ (Information)



ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล http://siriporn1990.blogspot.com/2013/05/2.html

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่1 (ตอบคำถามท้ายบท)



งานวันนี้
Ø เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่นกระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขายส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต คือ การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกการปฏิวัติทางเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติไม่น้อยไปกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังซวนเซอันเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ หลายคนหันมาคิดได้ว่าเราต้องหาทางตั้งตัวใหม่ ผลิตสินค้าและ เปิดบริการใหม่ๆแทนที่จะอาศัยวัตถุดิบและค่าแรงราคาถูก ซึ่งเคยเป็นข้อได้เปรียบของไทยแนวทางใหม่คงต้องเป็นการใช้สมอง ใช้ความสามารถที่เรามีอยู่บ้างมาเพิ่มพูนและผสมผสาน กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้า หรือเสนอบริการที่สามารถ แข่งขันในตลาดโลกได้
โชคดีที่จังหวะเหมาะของประเทศไทยอาจกำลังมาถึงในช่วงต้น ศตวรรษหน้านี้เทคโนโลยีในโลกกำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็น เทคโนโลยีสำคัญ เปรียบดัง เชื้อเพลิงที่เครื่องยนต์ของระบบเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิมอยู่มากมาย คนไทยเองก็มีความชำนาญทางการเกษตร และด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเช่นกัน ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะต้องลงทุนเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
Ø สารสนเทศหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นสารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้นซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับความหมายความรู้คำสั่งการสื่อสารการแสดงออกและการกระตุ้นภายในการส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้างแต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบและไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมากสามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษการแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้นและสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน
Ø เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก 
ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 

Ø ข้อมูลหมายถึงอะไร

   ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
 ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
 ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น         
       สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
 เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
 ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
 ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
 รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ   เช่นเป็นตัวเลข    ข้อความ   รูปภาพ  เสียงต่าง ๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ  ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลทางตา    ได้แก่ การมองเห็น   เช่นข้อมูลภาพ     จากหนังสือ   โทรทัศน์   เป็นต้น
2.การรับรู้ทางหู    ได้แก่  การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู   เช่น  ข้อมูลเสียงเพลง   เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ  ได้แก่   การสัมผัสกับข้อมูล  เช่น  การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก   ได้แก่  การได้กลิ่น   เช่น  หอมกลิ่นอาหาร  กลิ่นดอกไม้  กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก   ได้แก่  การรู้สึกถึงรส  โดยการสัมผัสทางลิ้น  เช่น  เผ็ด  หวาน  ขม  เป็นต้น
ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ 
1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น  เช่น   145 ,  2468  เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2.  ข้อมูลอักขระ  ประกอบด้วย ตัวอักษร  ตัวเลข  และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่  13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ  รับรู้จากการมองเห็น  เช่น ภาพดารา  ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง  รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน  เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น
ข้อมูลมีประโยชน์มากมายดังนี้
1.  ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์   วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้ เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ   เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่น ในแต่ละร้าน  จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด
(http://blog.eduzones.com/jipatar/85845 )
Ø ฐานความรู้ (อังกฤษ: knowledge base ย่อว่า KB หรือ kb[1][2]) เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้ ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้เก็บบันทึกความรู้ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ โดยปกติใช้เพื่อจุดประสงค์ของการใช้เหตุผลนิรนัยอัตโนมัติในตัว พวกมันมีกลุ่มของข้อมูลที่มักจะอยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อธิบายความรู้ในแบบต้องกันเชิงตรรกศาสตร์ ภววิทยาสามารถนิยามขึ้นได้จากโครงสร้างของข้อมูลที่เก็บบันทึกว่า ประเภทใดของหน่วยข้อมูลถูกบันทึกอยู่และความสัมพันธ์ของพวกมันเป็นอย่างไร ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น แอนด์ (การเชื่อม) ออร์ (การเลือก) การมีเงื่อนไข และนิเสธ อาจถูกใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาจากสารสนเทศส่วนที่เรียบง่ายกว่า ต่อจากนั้นก็ใช้การนิรนัยแบบดั้งเดิมเพื่อคิดคำนวณความรู้ให้เป็นฐานความรู้ ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้บางชนิดถูกนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น บางส่วนของระบบผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความสนใจไปที่ขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นยาตามใบสั่งหรือกฎหมายศุลกากรเป็นต้น ฐานความรู้บางชนิดก็ถูกนำไปใช้กับเว็บเชิงความหมาย

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บุคคลค้นคืนและใช้ความรู้ที่มันบรรจุอยู่ ตามปกติมันจะถูกใช้เพื่อเติมเต็มแผนกช่วยเหลือ (help desk) หรือเพื่อแบ่งปันสารสนเทศระหว่างพนักงานภายในองค์การ มันอาจเก็บบันทึกสารสนเทศการแก้ไขปัญหา บทความ สมุดปกขาว คู่มือ ป้ายความรู้ หรือคำตอบของคำถามที่ถามบ่อย โดยทั่วไปจะใช้เสิร์ชเอนจินเพื่อค้นหาสารสนเทศในระบบ หรือผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านทางแผนการจำแนกประเภท
ระบบที่ใช้พื้นฐานบนข้อความ ซึ่งสามารถรวมกลุ่มเอกสารที่มีการเชื่อมโยงหลายมิติระหว่างกัน เรียกว่า ระบบข้อความหลายมิติ (hypertext system) [3] ระบบข้อความหลายมิติช่วยสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ โดยลดภาระความพยายามที่มีนัยสำคัญของผู้ใช้ ซึ่งต้องสร้างความสัมพันธ์และจดจำสิ่งต่าง ๆ [4] ซอฟต์แวร์วิกิสามารถนำมาใช้เป็นฐานความรู้ชนิดระบบข้อความหลายมิติได้ ฐานความรู้สามารถมีได้บนทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบข้อความหลายมิติ [5]
ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ผ่านทางการสำเนาทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง หรือส่วนต่อประสานในเวลาจริงบางชนิด จากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถใช้เทคนิคเชิงปัญญาประดิษฐ์กับส่วนของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อเตรียมผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุด เพื่อตรวจสอบบูรณภาพของข้อเท็จจริงที่พบในเอกสารต่างชนิดกัน และเพื่อจัดหาเครื่องมือการประพันธ์ที่ดีกว่า ตัวอย่างหนึ่งคือ ดีบีพีเดีย (DBPedia) เป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ซึ่งดึงข้อมูลไปจากวิกิพีเดียที่มนุษย์อ่านได้
( https://th.wikipedia.org/wiki )
Ø โครงสร้างสารสนเทศ 
ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ 
สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)
ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ 
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ

การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area) 
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น

ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system) 
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)  
ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system) 
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system) 
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system) 
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)

การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) 
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า 
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีความยืดหยุ่นสูง และมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS) 
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า 
วัตถุประสงค์ของ  TPS
1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.   เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว 
3.   เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้ 
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
หน้าที่ของ TPS มีดังนี้ 
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

5. การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS  
ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้ 
มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก 
แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง 
กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ 
มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
•TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว

ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data) 

ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย 
มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS 
ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ 
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงิน ในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM 
นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้
 หน้าที่การทำงานของ TPS
งานเงินเดือน (Payroll)                        
การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน

  การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ 
การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)        
การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์

การเงินและการบัญชี    (Finance and Accounting)                   
การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ   
 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ 
การขาย (Sales)                      
การบันทึกข้อมูลการขาย
การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
การติดตามข้อมูลรายรับ 
การบันทึกการจ่ายหนี้ 
การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
วัสดุคงคลัง              
 การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน(Inventory Management)      
การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น 
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems MRS)
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
หน้าที่ของแบบ MRS
1. ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2. ช่วยในการทำรายงาน 
3. ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า 
ลักษณะของ MRS
1. ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว  
2. ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล

3. ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน 
4. ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
5. มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต 
6. ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข 
ประเภทของรายงาน MRS
รายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหาร ต้องการเท่านั้น
2. รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น มีการจัดทำรายงานทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต
3. รายงานสรุป (Summarized reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น รายงานยอดขายของพนักงานขาย จำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS
4. รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรม ในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
1. ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2. ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3. ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4. เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5. จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน 
6. นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
( https://sites.google.com/site/phonchai14/khorngsrang )
Ø วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้
             ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
             ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
                ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
                ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า
                ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ  
  ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
             เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ

           เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMSหรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
           นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
           ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
( http://www.learners.in.th/blogs/posts/509625 )